ตาปลา อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคตาปลา 10 วิธีที่คุณต้องรู้ !!

0
8746

ตาปลา (Corns) คืออะไร อาการ สาเหตุ โรคตาปลาเกิดจากอะไร การรักษา ตาปลา ที่มือ ที่เท้า วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวโรคตาปลา และวิธีการรักษาโรคตาปลา 10 วิธี ที่จะทำให้คุณต้องทึ่ง ถ้าพร้อมแล้วเรามารู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ

ตาปลา

วิธีรักษาตาปลา 10 วิธี ที่คุณไม่ต้องทนเป็นให้รำคาญใจ

“ตาปลา” โรคหรืออาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณเท้าของคน ซึ่งมันจะสามารถเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นก็ได้ แต่ส่วนมากแล้วโรคตาปลาจะเกิดขึ้นที่เท้า เพราะเท้า เป็นอวัยวะที่รับน้ำหนักตัวทั้งหมดเอาไว้ เป็นส่วนที่ถูกกดทับอยู่ตลอดเวลา ชีวิตประจำวันของบางคนนั้นจำเป็นจะต้องมีการกดทับที่บริเวณเท้าอยู่บ่อยๆซึ่งลักษณะอาการของตาปลาก็คือ จะมีตุ่มนูนขึ้นมา เป็นจุดๆแล้วแต่บริเวณ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง โดยเฉพาะฝ่าเท้าที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ตาปลาจะมีสาเหตุด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • สาเหตุที่เกิดจากภายนอก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคตาปลาจะกระทำให้มันเกิดขึ้นมาเองทางกายภาพ หรือการใช้ชีวิตประจำวันปกตินั่นเอง เมื่อต้องใช้แรงกดทับบริเวณนั้นเป็นเวลานาน อย่างเช่นการยืนเป็นเวลานาน การเดินแบบที่ใส่รองเท้าคับมากจนเกินไป การเขียนหนังสือเป็นเวลานาน การนั่งทำงานอะไรต่างๆเป็นเวลานานที่ต้องใช้มือและเท้าเป็นหลัก ก็ทำให้เกิดโรคตาปลาขึ้นมาแบบที่ไม่มีใครอยากให้เป็นแน่นอน
  • เกิดจากผู้ป่วยมีภาวะบางอย่างที่ผิดปกติ สาเหตุภายในที่ทำให้เลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่นรูปกระดูกของมือหือเท้าที่แปลกไป รูปกระดูกมีความนูนที่ทำให้มีการเกิดการกดทับได้ง่าย ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวมากจนเกินไป หรือมีกระดูกที่ผิดรูปไปบ้าง

อาการของโรคตาปลา สร้างความน่ารำคาญใจอยู่ไม่น้อย เพราะการมีตุ่นนูนแข็งๆ บางทีก็มีอาการคัน บางคนก็มีอาการแทรกซ้อนจนเจ็บ ทำให้เดินลำบาก แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นมีวิธีการรักษา เราจะไม่ต้องทนรำคาญใจกับเจ้าโรคตาปลาอีกต่อไป

อาการตาปลา

10 วิธีรักษาตาปลาไม่ให้มากวนใจได้อีก

1. สวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า ไม่รัดแน่นมากจนเกินไป เพราะจะเกิดการกดทับและเสียดสีมาก อาการตาปลาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะใช้งานเท้ามากจนเกินไป งานที่ต้องยืนตลอดเวลา งานที่ต้องเดิน หรือขับรถตลอด การสวมรองเท้าที่พอดี จึงจำเป็นมากๆ

2. การสวมถุงเท้าจะช่วยลดแรงกดทับ ลดแรงเสียดสีของเท้าได้ ลองหันมาสวมถุงเท้าให้บ่อยขึ้นเวลาที่ต้องใส่รองเท้าหนัง หรือหุ้มส้นก็จะช่วยป้องกันโรคตาปลาได้ดี

3. การใช้ซิลิโคน หรือฟองน้ำ ปกป้องเท้าเอาไว้เวลาที่สวมรองเท้า เคสนี้จะใช้กับคนที่มีกระดูกผิดรูป คือมีกระดูกเท้ายื่นออกมาแบบผิดปกติ เพราะฟองน้ำและซิลิโคนจะช่วยลดอาการกดทับและการเสียดสีได้ดี

4. ใช้น้ำมะนาวชุบด้วยสำลี เช็ดและถูบริเวณที่เป็นตาปลาเป็นประจำทุกวัน เพื่อทำให้มันมีความอ่อนนุ่มลงและจางหายไป เพราะน้ำมะนาวนั้นมีฤทธิ์เป็นกรด สามารถช่วยทำให้ผิวหนังผลัดเซลล์ที่ตายแล้วออกมาได้ แต่ต้องหมั่นทำเป็นประจำทุกวัน

รักษาตาปลา

5. ใช้พลาสเตอร์เพื่อสำหรับการลอกตาปลาโดยเฉพาะ ที่ติดเอาไว้แล้วทำการลอกออก ตาปลาก็จะหลุดออกตามมาด้วย แต่ไม่ได้ใช้แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต้องใช้หลายครั้งเพื่อให้ตาปลาหลุดออกมาจนหมด พลาสเตอร์มักจะมีขายตามร้านขายยา

6. ใช้ตะไบ หรือหิน ที่เอาไว้สำหรับขัดผิว ขัดตาปลาที่มีอยู่ออกไปเรื่อยๆจนหมด ต้องหมั่นทำเป็นประจำเพื่อที่จะให้ผิวหนังเก่าๆนั้นหลุดออกไป

7. ใช้น้ำยากัดตาปลา ทาที่บริเวณที่เป็นตาปลาโดยตรง ซึ่งวิธีนี้อาจจะต้องทำการปรึกษาเภสัชกรก่อนเพื่อความปลอดภัย แต่หลายคนก็สามารถทำได้และหายขาด แต่ก็จะมีข้อจำกัดในการทายาด้วยเช่นกัน อย่างเช่นต้องทาเป็นประจำทุกวัน หรือทาแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตอาการ ว่ามีอาการแทรกซ้อนหรือมีอาการอักเสบเพิ่มขึ้นหรือไม่

8. ใช้เปลือกสับปะรดทาบริเวณที่เป็นตาปลา จะช่วยลดอาการอักเสบได้ดี มีความเป็นกรดน้อยว่ามะนาว แต่ก็ทำให้หายได้ ต้องหมั่นทา หรือบางคนก็ใช้วิธีการหั่นสับปะรดบางๆแปะทับไว้ด้วยพลาสเตอร์ แล้วค่อยแกะออก จะช่วยให้ผิวช่วงตรงนั้นได้รับวิตามิน ตาปลาก็จะหายเร็วขึ้นนั่นเอง

สาเหตุตาปลา

9. สำหรับบางกรณีที่ผู้ป่วยโรคตาปลามีน้ำหนักมากจนเกินไป แพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนัก เพื่อที่จะทำให้แรงกดทับนั้นไม่มาก ไม่กดทับเท้าจนเกินไป อาการตาปลาก็จะหายไปด้วย

10. หมั่นทำความสะอาดเท้าอย่างสม่ำเสมอด้วยการแช่เท้าในน้ำร้อนหรือว่าน้ำอุ่น ให้มีความร้อนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตุ่มตาปลามีความนิ่มลง จะรักษาได้ง่ายกว่า น้ำร้อนที่แช่เท้าเอาไว้เมื่อแช่ไปได้สักพักแล้วก็ใช้แปรงหรือหินขัดเบาๆเพื่อให้ผิวหนังหยาบๆบางส่วนหลุดออกไป โรคตาปลาก็จะค่อยๆหายไปได้เช่นเดียวกัน

โรคตาปลา ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนจนที่ทำงานหนักๆ หรือผู้สูงอายุเท่านั้น เด็กวัยรุ่นรักสบายหลายคนก็เสี่ยงที่จะเป็นได้เช่นเดียวกัน เพราะการใช้ชีวิตของแต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่ต้องใช้อวัยวะแบบหนักๆ เขียนหนังสือนานจนเกินไป อย่าลืมว่าตาปลาก็เกิดขึ้นที่มือได้ ต้องหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อรู้ตัวว่าเป็นแล้ว อย่าปล่อยให้ลุกลามนานจนเกินไป ต้องรีบรักษาโดยเร็ว อาการเบื้องต้นอาจจะพอทนได้ แต่ถ้ามีอาการแทรกซ้อนจนอักเสบ อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอีกยาวไกล ดังนั้น หันมาดูแลมือและเท้าของเราให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอจะดีกว่านะ.

1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...