กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ สาเหตุและวิธีรักษาเบื้องต้น 8 วิธี !!

0
2849

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) คือโรคที่สามารถเป็นกันได้ทุกคน เรารวบรวม อาการ สาเหตุและวิธีการรักษาเบื้องต้น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ วันนี้เรามารู้จักโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้มากขึ้นกัน

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคของคนยุคใหม่ รักษาให้หายได้

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ที่เกิดขึ้นได้บ่อยในปัจจุบัน เนื่องมาจากลักษณะการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน สุขอนามัยและพฤติกรรมส่วนตัว ตลอดจนการออกกำลังกาย รวมทั้งการเผชิญกับภาวะอันก่อให้เกิดความเสี่ยง แม้หลายคนจะไม่ใส่ใจในโรคนี้มากนัก โดยคิดว่า เป็นแล้วกินยาก็หาย แต่เพื่อเป็นการป้องกัน และรักษาแต่เนิ่นๆ วันนี้เรามาศึกษาอาการ สาเหตุ และเช็คลิสต์ 8 วิธีการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบกันดีกว่า

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Urinary Tract Infection มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ เช่น อีโคไล (E.coli), ซูโดโมแนส (Pseudomonas) ,เคล็บซิลลา (Klebsiella) , เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) เป็นต้น จากบริเวณรอบๆ ท่อปัสสาวะ โดยโอกาสในการเกิดโรคนั้นมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องมาจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะที่ค่อนข้างสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก จึงทำให้เชื้อโรคที่อยู่บริเวณช่องคลอด และทวารหนักสามารถเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่ายเป็นพิเศษ

อาการที่พบได้บ่อยของโรค

อาการที่พบได้บ่อยของโรค คือ ปัสสาวะติดขัด ปวดเบ่ง ปัสสาวะบ่อยแบบกะปริดกะปรอย ปัสสาวะไม่สุดเสียที มีความรู้สึกอยากปัสสาวะตลอดเวลา บางครั้งมีปัสสาวะมีสีขุ่น หรืออาจมีหนองปนออกมาร่วมกับอาการไข้ รวมทั้งมีกลิ่นผิดปกติออกมา ในบางครั้งอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้อาจพบว่า มีนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเมื่อเกิดร่วมกับนิ่วในไตหรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หากอักเสบผิดปกติมากจนกระทั่งเฉียบพลัน อาจพบว่า ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด หรือ สีชมพู เนื่องมาจากเม็ดเลือดแดงออกมากับปัสสาวะ

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

รักษากระเพาะปัจสาวะอักเสบ

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้ออีโคไลถึง 70 – 90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ที่เหลือก็จะเป็นแบคทีเรียตัวอื่นดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเชื้อเหล่านี้จะสำแดงฤทธิ์ก็ต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ และพฤติกรรมการกิน ตลอดจนการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่น การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเมื่อเดินทาง หรือ พบห้องน้ำที่ไม่สะอาด หรือ มีภารกิจงานที่ไม่สามารถปลีกตัวไปปัสสาวะได้ หรือเช็ดอุจจาระทางทวารหนักย้อนสู่ช่องคลอดด้านหน้า โดยไม่ทันระมัดระวังการชำระล้างทวารหนัก

ปัญหาเหล่านี้จึงมักจะพบในผู้หญิง แต่ในส่วนของผู้ชายนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้น้อยกว่ามาก เนื่องมาจากมีท่อปัสสาวะค่อนข้างยาวและอยู่ห่างไกลจากทวารหนัก อัตราเสี่ยงจึงลดลง นอกจากนี้ยังพบได้อีกว่า สำหรับในผู้หญิงที่พึ่งแต่งงานใหม่หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดมีอาการขัดเบาแบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ มักจะเรียกว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน หรือ Honeymoon cystitis อันมีสาเหตุมาจากการฟกช้ำ บอบช้ำ ระคายเคืองจากการร่วมเพศ แล้วก่อให้เกิดอาการอักเสบของท่อปัสสาวะขึ้นได้เช่นกัน

8 วิธีรักษาตนเองเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยเด็ดขาด พยายามเตือนตนเองตลอดเวลาให้เข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะ เนื่องมาจากการยืดเวลาในการปัสสาวะให้ยาวนานออกไปมากเพียงใด อัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่คงค้างอยู่ในปัสสาวะนั้นก็จะมากเป็นพิเศษ ทำให้ปัสสาวะขุ่นและเข้มข้นไปด้วยเชื้อแบคทีเรียที่จะสัมผัสกับกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลาจนกระทั่งเกิดการอักเสบขึ้นได้
  2. โดยปกติควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยประมาณวันละ 6 – 8 แก้ว และในช่วงที่มีอาการควรดื่มเพิ่มประมาณวันละ 3-4 ลิตร เพื่อให้น้ำสะอาดช่วยเจือจางความเข้มข้นของสารพิษ และเชื้อแบคทีเรียให้ลดลง โดยช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ แต่ในกรณีนี้ควรใช้กับบุคคลที่ไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว)
  3. พยายามรักษาสุขอนามัยส่วนตัว โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ และเน้นไปที่ผู้หญิงเป็นพิเศษ เพราะกายวิภาคของเพศหญิงที่มักจะมีเมือก หรือ ตกขาวออกมาเพื่อรักษาสมดุลของช่องคลอดเป็นประจำ รวมทั้งการมีประจำเดือน หากไม่มีการเช็ดทำความสะอาดเป็นอย่างดี ก็จะก่อให้เกิดการหมักหมมและเป็นแหล่งที่ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ง่ายอีกด้วย เพราะมีสภาวะที่เหมาะสมนั่นเอง นอกจากนี้แม้แต่การอุจจาระก็ควรที่จะเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปยังด้านหลังทางทวารหนัก ไม่ควรเช็ดย้อนโดยเด็ดขาดเนื่องจากสิ่งสกปรก และเชื้อโรคจากอุจจาระ และบริเวณรอบๆ ทวารหนักจะสามารถเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
  4. ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัว ในบริเวณอวัยวะเพศและไม่ควรสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยามีฤทธิ์รุนแรงโดยเด็ดขาด เพราะเนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกของอวัยวะเพศระคายเคืองแล้ว ยังเพิ่มโอกาสติดเชื้อ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย
  5. สำหรับในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ หลังจากที่เสร็จกิจแล้ว แนะนำว่าควรปัสสาวะทิ้ง และทำความสะอาดร่างกายทั้งหมดทันที
  6. ไม่รับประทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะพวกผลไม้เช่น แครนเบอรี่ ที่ช่วยในการฆ่าเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี เป็นต้น
  7. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำสาธารณะ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโรคเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหากต้องการลงอ่างอาบน้ำจริงๆ ควรทำความสะอาดให้ดีเสียก่อน
  8. ไม่ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ตนเอง และผู้ที่ต้องรับประทานยาปรับภูมิต้านทาน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลว่า ตนเองมีอาการปัสสาวะอักเสบอยู่ ควรจะปรับลดยาอย่างไรดี

ดังนั้น เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมป้องกัน และรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยข้อมูลดีๆ ที่นำมาฝากกันนะค่ะ

1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...