มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการสาเหตุและวิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

0
3591

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) อาการ สาเหตุและวิธีการรักษาเบื้องต้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่แก้ได้ด้วยอาหาร และการขับถ่าย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้มากขึ้นกัน

มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่แก้ได้ด้วยอาหาร และการขับถ่าย

โรคร้ายชนิดหนึ่งที่บรรดาคนที่มักมีอาการท้องผูกประจำ หรือ เรื้อรังนั้น เริ่มที่จะเกิดอาการกลัวกันมากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่พากันคิดว่า ยังเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้นอีกแล้ว เพราะโรคร้ายดังกล่าวนี้ มักจะมีสาเหตุหลักจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณแคลเซียมน้อย รวมทั้งเน้นรับประทานแต่โปรตีนและไขมันในปริมาณสูง ดื่มน้ำสะอาดน้อย ไม่ออกกำลังกาย มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ตลอดจนโรคนี้ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงเมื่อบุคคลภายในครอบครัวมีประวัติเคยเป็น ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เร่งรีบ และไม่ดูแลตนเองให้ดีเท่าที่ควร หลายคนคงอยากรู้กันแล้วว่า โรคที่ว่านั่นคือโรคอะไร คำตอบนั่นคือ…โรคมะเร็งลำไส้ ที่ ณ วันนี้ เราสามารถกล่าวได้เต็มปากว่า โรคนี้ยังมีทางแก้ไข และเราควรเรียนรู้เพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการของโรคก่อนที่จะสายเกินไปดังนี้

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ มะเร็งลำไส้เล็ก และมะเร็งลําไส้ใหญ่ ซึ่งในกรณีจะเน้นในเรื่อง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่พบกันได้บ่อย โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ Colon cancer คือ โรคที่เซลล์ในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นทวีคูณจนกระทั่งร่างกายไม่สามารถควบคุมต่อไปได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบนี้มีหลายแบบทั้งแบบเรื้อรังที่ค่อยๆ เปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อย หรือบางครั้งก็เติบโตรวดเร็ว ซึ่งส่วนมากจะเริ่มจากการเป็นเนื้องอกก่อน แม้มะเร็งลำไส้ใหญ่มักพบในกลุ่มบุคคลช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตาม อะไรๆ ก็ไม่แน่นอน เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงนั้น พบว่า ผู้ชายมีโอกาสมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

อาการของโรค

โดยทั่วไปในระยะแรกของโรคจะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ปรากฏออกมา แต่หลังจากนั้น เมื่อมะเร็งลุกลามขยายตัวมากขึ้นก็จะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้น โดยสอดคล้องกับตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง อาทิเช่น มีอาการท้องผูก สลับท้องเสีย แบบเรื้อรัง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน บางครั้งถ่ายอุจจาระออกมาเป็นมูกหรือมูกปนเลือด หรือแม้แต่ถ่ายเป็นเลือดสด ส่วนรูปร่างอุจจาระมีการเปลี่ยนไป เล็กลง เรียวยาวเป็นเส้น นอกจากนี้อาจพบว่า มีอาการปวดท้องหรือท้องอืด และรู้สึกคล้ายปวดถ่ายอยู่ตลอดเวลา หากเป็นมากจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักตัวลดลง รวมทั้งมีอาการซีด เกิดโลหิตจาง เพราะมีเลือดออกทีละน้อยจากแผลมะเร็งโดยไม่ทันรู้ตัว รวมทั้งอาจมีอาการลำไส้อุดกั้นร่วมด้วย พร้อมกับอาจคลำพบก้อนในท้องที่บริเวณด้านขวาตอนล่าง

รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ มักจะเกิดในคนที่มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน นอกจากนี้อาจเคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล รวมทั้งมีลักษณะการกินอาหารจำพวกเนื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนทั้งเนื้อสัตว์ที่ผ่านการ ปิ้ง หรือย่างไหม้เกรียม อาหารหมักดอง อาหารจำพวกแป้ง มีไขมันสูง จึงทำให้เกิดอาการท้องผูก อุจจาระค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ เยื่อบุลำไส้จึงสัมผัสกับสารก่อมะเร็งได้มาก และการดื่มแอลกอฮอล์จัด การสูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกายเป็นประจำก็มีส่วนให้ความเสี่ยงทวีมากขึ้น

การป้องกัน และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งลำไส้

อาหาร และการปรับพฤติกรรมการขับถ่าย เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต และโดยส่วนมากแล้วสุขภาพร่างกายจะดี หรือไม่ดี จะแข็งแรงหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นหลัก รองลงมาคือการขับถ่าย และการออกกำลังกาย ดังที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน

1. อาหารที่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการป้องกันตนเอง และชะลอความรุนแรงของโรคควบคู่กับการรักษาจากแพทย์นั้น อันดับแรกคือ ผักผลไม้ เส้นใยอาหารธรรมชาติเป็นอาหารกลุ่มแรกที่ควรรับประทานให้มาก สม่ำเสมอ และให้ครบทุกมื้อของอาหาร โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ อย่างพวกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบรอคโคลี เป็นผักที่อุดมไปด้วยสาร Isothiocyanate ซึ่งให้ผลดีมากในการป้องกัน และควบคุมมะเร็ง ตลอดจนพวกผักกลิ่นฉุนอย่างหอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียม ก็ออกฤทธิ์ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระได้เช่นกัน

โดยเฉพาะสาร Allicin ที่มีในกระเทียมนั้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคไปพร้อมกับลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย นอกจากนี้ผลไม้ที่ควรรับประทานก็จะเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยธรรมชาติสูง เช่น กีวี กล้วย มะละกอสุก ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร ทับทิม เป็นต้น และหลังจากการรับประทานผลไม้เส้นใยสูงแล้ว ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้จากเส้นใยอาหาร กลุ่มที่สองจะเป็นคาร์โบไฮเดรตควรเป็นข้าวหรือแป้งที่ไม่ขัดสี ที่เรียกกันว่า ข้าวกล้อง และโฮลต์วีต ตามลำดับ กลุ่มที่สามกรณีไขมันนั้น ควรเลือกใช้ไขมันที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว กลุ่มโอเมก้า 3 และ 6 จะให้ผลดีในผู้ป่วยมะเร็ง แทนการรับประทานอาหารเสริม กลุ่มที่สี่จะเป็นโปรตีน ซึ่งควรจะรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย อย่าง ไข่แดง และเนื้อปลาจะดีที่สุด

มะเร็งลำไส้ใหญ่

2. ปรับพฤติกรรมการขับถ่าย การพยายามฝึกตนเองให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่ควรละเลย หรือ เพิกเฉยบ่อยๆ โดยควรฝึกให้ถ่ายอุจจาระอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำ และเป็นเวลา อย่างเช่น ทุกเช้าหลังตื่นนอน หรือ ช่วงเย็นขณะอาบน้ำ เป็นต้น ตลอดจนสำหรับท่าทางในการนั่งถ่ายอุจจาระนั้น ควรอยู่ในลักษณะท่านั่งยองหรืองอเข่า จะช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และเหมาะแก่การเคลื่อนตัวของอุจจาระผ่านไส้ตรง มากกว่าท่านั่งชักโครกแบบกดอย่างที่เราเห็นโดยทั่วไปในปัจจุบัน

ดังนั้น การจัดระเบียบชีวิตใหม่ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานผักผลไม้ กากเส้นใยให้มากขึ้นลดปริมาณไขมันให้น้อยลง พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ให้มากขึ้น เพื่อช่วยปรับสมดุลในลำไส้ให้เรา อีกทั้งฝึกขับถ่ายเป็นประจำให้ติดเป็นนิสัย ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมทั้งช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นแล้วได้อีกทาง

1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...