ธาลัสซีเมีย อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคธาลัสซีเมีย ที่คุณไม่รู้เคยรู้

0
2788

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่พบมากที่สุด โดยถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการ สาเหตุของ โรคธาลัสซีเมีย และอาหารของคนเป็นโรคนี้ เป็นอย่างไร ?

โรค”ธาลัสซีเมีย” โรคกรรมพันธุ์ หรือป้องกันได้

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงนัก และหลายคนก็แทบจะไม่รู้จัก แต่เชื่อหรือไม่ว่า โรคดังกล่าวเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทยโรคหนึ่งเลยทีเดียว และไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้น เพราะจากสถิติเราพบว่า ลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้มากแทบจะทุกพื้นที่ในโลก แต่มีระบาดมากในโซนเอเชีย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันของยิน และดีเอ็นเอที่มากกว่าภูมิภาคอื่นนั่นเอง และเราเชื่อว่าหลายคนอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับโรคนี้ว่า เกิดจากอะไร และจะรักษา หรือป้องกันได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ

สาเหตุของธาลัสซีเมีย

ถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆ แบบชาวบ้านเข้าใจเลย คือ ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากยีนด้อยที่ถูกถ่ายทอดโดยผ่านบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งสำหรับประเทศไทย เราจะพบคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้มากที่สุดในภาคอีสาน และภาคเหนือ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนภาคอื่นๆ จะไม่มีโรคธาลัสซีเมีย เพียงแต่อาจจะพบในสัดส่วนที่น้อยกว่า

อาการธาลัสซีเมีย

ลักษณะ และประเภทของธาลัสซีเมีย

ด้วยความที่ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย สำหรับหลายๆ กรณีเราอาจจะมองไม่เห็น แต่สิ่งที่สังเกตได้อย่างเห็นได้ชัดเลย คือ คนที่เป็นธาลัสซีเมีย จะมีลักษณะ ตัวเหลือง ตาเหลือง หน้าซีด เป็นลมง่าย และอาจจะมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ อย่างเช่น การตับโต ม้ามโต จากการตกค้างของธาตุเหล็กในร่างกาย หรือมีความแคระแกร็น ตัวเล็กกว่าเด็กปกติ อาการฟันยื่น ดั้งแฟบ ผิวคล้ำผิดปกติ และอาการอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งอาจจะต้องตรวจอีกครั้งโดยแพทย์ ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านั้นเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย มีน้อยกว่าคนปกติ และมีขนาดที่ใหญ่ แต่เปราะบางกว่าของคนปกติ ซึ่งอย่างที่เรารู้กัน คือ เม็ดเลือดแดงจะทำหน้าที่ในการเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในร่างกายของมนุษย์ เมื่อเม็ดเลือดแดงไม่แข็งแรง การแลกเปลี่ยนออกซิเจนก็ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อย และอ่อนเพลีย รวมไปถึงขาดสารอาหารบางอย่างได้ง่ายกว่าคนปกติ

ผู้ป่วยพาหะ คือกลุ่มคนที่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการ และสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ รวมไปถึงมีอายุยืนได้เท่าๆกับคนปกติอีกด้วย สำหรับกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีมากที่สุดทีเดียว และสามารถที่จะถ่ายทอดยีนดังกล่าวไปยังลูกหลานผ่านทางการแต่งงาน ทั้งกับคนปกติ คนที่เป็นพาหะด้วยกัน และกลุ่มคนที่เป็นธาลัสซีเมีย

ผู้ป่วยอาการเล็กน้อยหรือ กลุ่ม เฮโมโกลบิน H กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของคนที่ดูเหมือนว่าจะปกติ จะไม่แสดงอาการเลยตั้งแต่เกิด หรือหากจะมีก็จะเป็นอาการโลหิตจาง หรือภาวะซีดเหลืองให้เห็นเพียงเล็กน้อยและหากไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะมีอายุยืนได้เท่าๆ กับคนปกติ ยกเว้นแต่ว่าจะเกิดการติดเชื้อ หรือมีไข้อย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรวดเร็ว จนจำเป็นต้องเข้ารับการเติมเลือดอย่างเร่งด่วน

กลุ่มอาการปานกลาง ในกลุ่มนี้มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นเมื่อแรกเกิด แต่เมื่อโตมาซักพัก จะพบว่ามีอาการซีด ตัวเหลือง และมีใบหน้าแบบคนที่เป็นธาลัสซีเมียให้เห็น และหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะมีอาการรุนแรง จนทำให้เสียชีวิตในช่วงวัยรุ่น หรืออายุไม่เกิน 25 ปีได้ ลักษณะที่พึงสังเกตของคนกลุ่มนี้คือ มีอาการตับโต ม้ามโต และมีร่างกายแคระแกร็น บางส่วนอาจจะมีพัฒนาการทางสมองที่ค่อนข้างช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันด้วย

กลุ่มอาการรุนแรง โดยกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้เกิดมาดูโลก เพราะมารดามักจะแท้ง หรือเกิดอาการครรภ์เป็นพิษจนทำให้แท้งตั้งแต่แรก แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่เกิดมา แต่อยู่ได้ไม่นาน ลักษณะอาการของเด็กที่เป็นธาลัสซีเมียในกลุ่มนี้ คือ จะมีอาการท้องบวม ซีด ตับโต ม้ามโต เป็นต้น

การป้องกันธาลัสซีเมีย

การป้องกัน การรักษา และการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

สำหรับการป้องกันในปัจจุบัน ยังทำไม่ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็น ทำได้เพียงการคุมกำเนิด หรือหากต้องการที่จะมีลูกจริงๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะทำการแยกยีนที่เป็นต้นเหตุของโรคออกมาจากยีนปกติ ก่อนที่จะนำมาผสมกับไข่ ซึ่งวิธีการดังกล่าวค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายมากทีเดียว

ในส่วนของการรักษานั้น ปัจจุบันได้พบวิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมีย ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เพราะกว่าจะหาคนที่มีเนื้อเยื่อตรงกัน และสามารถปลูกถ่ายได้ และที่สำคัญคือ ใช่เงินในการผ่าตัดจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคธาลัสซีเมียหลังจากปลูกถ่ายไขกระดุกยังมีอยู่ถึง 50% กันเลยทีเดียว

การดูแล ในส่วนของการดูแลผู้ป่วย เราอาจจะต้องจำกัดเรื่องของอาหารบางอย่าง เพราะถึงแม้ว่าธาลัสซีเมียจะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง แต่ผู้ป่วยไม่ควรได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดอาการตับแข็งได้ ส่วนเรื่องของอาหารนั้น ให้เน้นกินอาหารให้ครบหมู่ โดยเน้นหนักไปที่อาหารประเภทโปรตีน และแคลเซียม เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์เม็ดเลือด และกระดูก

ธาลัสซีเมีย

จะเห็นได้ว่า ธาลัสซีเมีย ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงแต่อย่างใด เพียงแต่สำหรับผู้ป่วยโรคนี้อาจจะเป็นโรคที่ทำให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้นมาไม่น้อยทีเดียว เพราะทำอะไรหนักๆ จะไม่ค่อยได้ ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันได้พบการรักษา และการป้องกันแล้ว เพียงแต่ว่าวิธีการป้องกัน และรักษาให้หายขาดอาจจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งทางผู้ป่วยควรจะพยายามดูแลร่างกายตัวเองให้แข็งแรง และอยู่ได้นานๆ เหมือนคนปกติต่อไป

1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading...